October 6, 2020

money2

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 2 ยิงปลา

ความหมายของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (Leaning Achievement) เป็นผลที่เกิดจากปัจจัยต่างๆ ในการจัดการศึกษา นักการศึกษาหลายท่านจึงให้ความสำคัญกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เนื่องจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นดัชนีประการหนึ่งที่สามารถบอกถึงคุณภาพการศึกษา และได้ให้ความหมายของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไว ดังนี้ ยิงปลา

บุญชม ศรีสะอาด (2547, หน้า 68) ได้ให้ความหมายผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นจากการค้นคว้า การอบรม การสั่งสอน หรือประสบการณต่างๆ รวมทั้งความรูสึก ค่านิยม จริยธรรมต่าง ๆ ที่เป็นผลมาจากการฝึกสอน

พิชิตฤทธิ์ จรูญ (2545,หน้า 89) ได้ให้ความหมายผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง คุณลักษณะและความสามารถของบุคคล อันเกิดจากการเรียนการสอน เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและประสบการณ์การเรียนรู้ที่เกิดจากการฝึกอบรม หรือจากการสอน

สรุปได้ว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง ผลที่เกิดจากการอบรม สั่งสอน การค้นคว้าประสบการณต่างๆ หรือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่แสดงออกถึงความสามารถของบุคคลซึ่งวัดได้โดยใช้แบบทดสอบต่างๆ

แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

นักการศึกษาได้ให้ความหมายของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไว้ ดังนี้

บุญศรี พรหมมาพันธุ์ และนวลเสนห์ วงศ์เชิดธรรม (2545,หน้า 219) ให้ความหมายว่า แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นชุดของคำถามที่มุ่งวัดความรู้ความสามารถ ทักษะ และสมรรถภาพทางสมอง ด้านต่าง ๆ ของผู้เรียนหลังเกิดการเรียนรู้ ยิงปลา

พิชิต ฤทธิ์จรูญ (2545 , หน้า 98) ให้ความหมายของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน หมายถึง แบบทดสอบที่ใช้วัดความรู้ ทักษะ และความสามารถทางวิชาการที่ผู้เรียนได้เรียนรู้มาแล้วว่าบรรลุผลสำเร็จตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้เพียงใด

สมบูรณ์ ตันยะ (2545, หน้า 143) ให้ความหมายของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง แบบทดสอบที่ใช้สำหรับวัดพฤติกรรมทางสมองของผู้เรียนว่ามีความรู้ ความสามารถในเรื่องที่เรียนรู้มาแล้ว หรือได้รับการฝึกฝนอบรมมาแล้วมากน้อยเพียงใด ยิงปลา

สรุปได้ว่า แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึงแบบทดสอบที่ใช้วัดระดับความรู้ ความสามารถ ทักษะและสมรรถภาพทางสมองของผู้เรียนซึ่งได้เรียนรู้ในช่วงเวลาที่กำหนด

รูปแบบของข้อคำถามแบบทดสอบ

พิชิต ฤทธิ์จรูญ (2545,หน้า 96) ได้แบ่งประเภทของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ออกเป็น 2 ประเภท คือ

1. แบบทดสอบที่ครูสร้างขึ้นเอง หมายถึง แบบทดสอบที่มุ่งวัดผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนเฉพาะกลุ่มที่ครูสอน เป็นแบบทดสอบที่ครูสร้างขึ้นใช้กันโดยทั่วไปในสถานศึกษา มีลักษณะเป็นแบบทดสอบข้อเขียน ซึ่งแบ่งออกได้อีก 2 ชนิด คือ ยิงปลา

1.1 แบบทดสอบอัตนัย เป็นแบบทดสอบที่กำหนดคำถามหรือปัญหาให้แล้วให้นักเรียนตอบโดยแสดงความรู้ ความคิด เจตคติ ได้อย่างเต็มที่

1.2 แบบทดสอบปรนัย หรือแบบให้ตอบสั้นๆ โดยเป็นแบบทดสอบที่ให้นักเรียนเขียนตอบสั้นๆ หรือมีคำตอบให้เลือกแบบจำกัดคำตอบ นักเรียนไม่มีโอกาสแสดงความรู้ ความคิด ได้อย่างกว้างขวางเหมือนแบบทดสอบอัตนัย แบบทดสอบชนิดนี้แบ่งออกเป็น 4 แบบ คือ แบบทดสอบถูก-ผิด แบบทดสอบเติมคำ แบบทดสอบจับคู่ และแบบทดสอบเลือกตอบ

2. แบบทดสอบมาตรฐาน หมายถึง แบบทดสอบที่มุ่งวัดผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนทั่ว

ไป ซึ่งสร้างโดยผู้เชี่ยวชาญ มีการวิเคราะห์และปรับปรุงอย่างดีจนมีคุณภาพ มีมาตรฐาน กล่าวคือมีมาตรฐาน ในการดำเนินการสอบ วิธีการให้คะแนนและการแปลความหมายของคะแนน

เพ็ญศรี ทิพย์สุวรรณกุล (2545,หน้า 145) แบ่งลักษณะของข้อสอบเป็น 2 รูปแบบใหญ่ๆ คือ

1. ชนิดความเรียงหรือที่เรียกกันทั่วไปว่าข้อสอบอัตนัย เป็นลักษณะของข้อสอบที่ต้องการ ให้ผู้สอบอธิบาย บรรยายเรื่องราว อภิปราย วิพากษ์วิจารณ์ ประพันธ์ แสดงความคิดเห็นสิ่งต่างๆ วินิจฉัยปัญหาอย่างมีเหตุผล หรืออาจพูดได้ว่าเป็นการฝึกหัดให้นักเรียนรู้จักการเสนอแนวความคิดหรือแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างมีระบบ

2. ข้อสอบอย่างเติมคำตอบสั้น ข้อสอบแบบนี้ต้องการให้นักเรียนเขียนตอบเพียงคำ วลี สัญลักษณ์หรือข้อความสั้นๆ สามารถวัดความรู้ได้ทุกเนื้อหาวิชา แต่เป็นการวัดการเรียนรู้ระดับต่ำ

3. ข้อสอบแบบจับคู่ โดยทั่วไปข้อสอบแบบจับคู่ ประกอบด้วยรายการ 2 กลุ่ม หรือ 2 คอลัมน์ คอลัมน์หนึ่งเป็นรายการของคำถามหรือปัญหาที่ต้องการคำตอบมักจะจัดไว้ทางซ้ายมือ ส่วนอีกคอลัมน์เป็นรายการของคำตอบมักจัดไว้ทางขวามือ ส่วนใหญ่แล้วจะจัดให้รายการที่เป็นคำตอบมีจำนวนมากกว่ารายการที่เป็นคำถาม ข้อสอบนี้วัดได้ทุกเนื้อหาวิชาเหมาะสำหรับเด็กระดับประถมศึกษามากกว่าระดับอื่น และจะวัดความสามารถในการเรียนรู้ระดับต่ำ ยิงปลา

4. ข้อสอบแบบถูกผิด เป็นข้อสอบที่ให้ผู้สอบตัดสินหรือเลือกตอบได้ใน 2 ทางเลือก คือ ถูก - ผิด หรือ ใช่ –ไม่ใช่ ข้อสอบแบบนี้ส่วนใหญ่จะวัดความสามารถในการเรียนรู้ในระดับต่ำ

5. ข้อสอบเลือกตอบเป็นแบบข้อสอบที่นิยมใช้กันมากเนื่องจากสามารถวัดได้ทุกเนื้อหาและทุกระดับความรู้ ข้อสอบแบบเลือกตอบโดยทั่วไปประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นคำถามและส่วนที่เป็นรายการให้เลือกตอบ หรือตัวเลือก ตัวเลือกอาจมีได้ตั้งแต่ 3-4-5 ตัวเลือกในจำนวนตัวเลือกนั้นจะต้องมีทั้งตัวเลือกที่เป็นตัวถูกและตัวเลือกที่เป็นตัวลวง โดยทั่วไปสำหรับเด็กเล็กจะนิยมใช้เพียง 3 ตัวเลือก ระดับประถมศึกษา 4-5 และระดับมัธยมศึกษาตอนต้นนิยมใช้ 4 ตัวเลือก ระดับสูงกว่านี้ควรใช้ 5 ตัวเลือก

สรุปได้ว่า รูปแบบของข้อคำถามแบบทดสอบหรือประเภทของแบบทดสอบมีหลายประเภทด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นแบบทดสอบที่ครูสร้างขึ้นเอง แบบทดสอบมาตรฐาน แบบทดสอบปรนัย แบบทดสอบอัตนัย แบบทดสอบปฏิบัติจริง และข้อเขียน หรือแบบทดสอบที่วัดคุณลักษณะ เฉพาะอย่าง ดังนั้นครูจะต้องเลือกแบบทดสอบให้เหมาะสมกับเนื้อหา และสอดคล้องกับจุดประสงค์ตามที่ได้กำหนดไว้

ลักษณะของแบบทดสอบที่ดี

พิชิต ฤทธิ์จรูญ (2545, หน้า 102) ได้กล่าวถึงลักษณะของแบบทดสอบที่ดีไว้ ดังนี้

1. เที่ยงตรง สามารถวัดสิ่งที่ต้องการจะวัดได้ถูกต้องตรงความมุ่งหมาย โดยมีความเที่ยงตรงทั้งใน ด้านเนื้อหา และด้านพฤติกรรมที่กำหนดไว้ในจุดประสงค์ของหลักสูตร

2. ยั่วยุให้อยากตอบ เป็นข้อสอบที่น่าสนใจโดยใช้รูปภาพ ตาราง แผนภูมิ ยั่วยุให้เกิดความสนใจ

3. ต้องเป็นปรนัย ซึ่งมีคุณสมบัติ 3 ประการ คือ

3.1 ความหมายของคำถามเป็นที่เข้าใจได้ตรงกัน

3.2 ตรวจให้คะแนนได้ตรงกันไม่ว่าใครจะเป็นผู้ตรวจ

3.3 แปลความหมายของคะแนนเป็นอย่างเดียวกัน

4. มีความยากง่ายพอเหมาะ โดยคิดจากจำนวนนักเรียนที่ตอบได้ ถ้านักเรียนจำนวนมากตอบได้แสดงว่าข้อสอบนั้นง่าย แต่ถ้านักเรียนจำนวนมากตอบไม่ได้แสดงว่าข้อสอบนั้นยาก

5. มีอำนาจจำแนก หมายถึง เป็นข้อสอบที่สามารถแยกนักเรียนเก่งออกจากนักเรียนอ่อนได้

6. มีความเชื่อถือได้ หมายถึง ข้อสอบที่ให้คะแนนคงที่ หรือใกล้เคียงคะแนนครั้งก่อนไม่ว่าจะวัดกี่ครั้งก็ตาม

เพ็ญศรี ทิพย์สุวรรณกุล (2545, หน้า 150) ได้กล่าวถึงลักษณะของแบบทดสอบที่ดีไว้ ดังนี้

1. ความตรงหรือความเที่ยงตรง (Validity) หมายถึงแบบทดสอบนั้นให้ผลการวัดได้ตรงคุณลักษณะของสิ่งที่ต้องการวัดตามจุดมุ่งหมายที่ต้องการ

2. ความเที่ยงหรือความเชื่อมั่น (Reliability) หมายถึงคุณลักษณะของแบบทดสอบที่สามารถวัดแล้วได้ผลคงเดิม ไม่ว่าจะนำมาใช้วัดกี่ครั้งก็ตาม เช่น ผู้สอบคนหนึ่งสอบได้คะแนนสูงในการสอบครั้งแรก เมื่อให้สอบด้วยแบบทดสอบเดิมอีกครั้งควรได้คะแนนสูงด้วย

3. ความเป็นปรนัย (Objectivity) หมายถึงคุณลักษณะของแบบทดสอบที่อ่านแล้วสามารถเข้าใจได้ตรงกันให้คะแนนได้ตรงกันและแปลความหมายของคะแนนได้ตรงกัน นั่นคือข้อคำถามของแบบทดสอบต้องชัดเจนไม่กำกวม

4. ค่าอำนาจจำแนกเหมาะสม (Discrimination) หมายถึง คุณลักษณะของแบบ ทดสอบที่สามารถแสดงความแตกต่างของสิ่งที่ต้องการวัดได้ เช่น ผลการวัดสามารถแยกนักเรียนเก่งและนักเรียนอ่อนได้ถูกต้อง ซึ่งค่าอำนาจจำแนกที่เหมาะสมของข้อสอบนั้นสามารถคำนวณได้ค่าที่ใช้ได้มีค่าระหว่าง .20 - 1.00

5. ค่าความยากง่ายพอเหมาะ (Difficulty) หมายถึงคุณลักษณะของข้อสอบที่มีค่าความยากง่ายเหมาะสมกับเนื้อหา นั่นคือจะมีผู้เข้าสอบประมาณครึ่งหนึ่งของจำนวนทั้งหมดตอบถูกค่าความยากที่ใช้ได้จะมีค่าระหว่าง .20 - .80 ยิงปลา

6. มีความยุติธรรม (Fairness) หมายถึงแบบทดสอบนั้นต้องไม่ประกอบด้วยข้อสอบที่เปิดโอกาสให้ผู้เข้าสอบคนในคนหนึ่งเดาได้ถูก และต้องไม่เปิดโอกาสให้ผู้สอบที่ไม่รู้จริงทำคะแนนได้มาก ดังนั้นแบบทดสอบที่มีความยุติธรรมจะต้องสร้างข้อสอบตามหลักการเขียนข้อสอบที่ดีและต้องครอบคลุมหลักสูตรทั้งหมด

7. ถามลึก (Searching) หมายถึงแบบทดสอบฉบับนั้นต้องประกอบด้วยข้อสอบถามพฤติกรรมความเข้าใจ การนำไปใช้ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ และการประเมินค่า อย่างเหมาะสมสอดคล้องกับพฤติกรรมที่กำหนดไว้ในหลักสูตร ไม่ถามเฉพาะความรู้ความจำเพียงอย่างเดียว

8. มีความจำเพาะเจาะจง (Definite) หมายถึงแบบทดสอบนั้นต้องประกอบด้วยข้อสอบที่มีคำถามเฉพาะเจาะจง มีความหมายเดียว

9. มีลักษณะยั่วยุ (Challenge) และเป็นตัวอย่างที่ดี หมายถึง แบบทดสอบนั้นประกอบด้วยข้อสอบที่มีลักษณะท้าทายให้อยากทำข้อสอบและเป็นตัวอย่างที่ดี เช่น เรียงข้อจากง่ายไปยาก หรือข้อสอบที่ถามแบบสถานการณ์ ถามเรื่องที่น่าสนใจ ถามเรื่องที่เป็นแบบอย่างในทางดี

10. มีประสิทธิภาพ (Efficiency) หมายถึงแบบทดสอบนั้นสามารถนำไปใช้ได้ง่าย ไม่ยุ่งยาก ไม่สิ้นเปลืองเวลา เงินและแรงงานมากและสามารถนำผลการสอบไปใช้ได้อย่างคุ้มค่า เช่น ถามได้ครอบคลุม ไม่ถามตามตำรา ถามในสิ่งที่สำคัญ การพิมพ์ต้องอ่านง่ายชัดเจน เวลาที่กำหนดให้ต้องเหมาะสม การดำเนินการสอบเป็นไปอย่างมีระเบียบ การตรวจเป็นปรนัย เป็นต้น

สรุปได้ว่า ลักษณะของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดี ควรมีความเที่ยงตรงมีความเชื่อมั่นมีความเป็นปรนัย มีค่าอำนาจจำแนกเหมาะสม มีค่าความยากง่ายพอเหมาะมีลักษณะยั่วยุ และมีประสิทธิภาพ

อ่านเพิ่มเติมได้ที https://moneyslotxo.cc/