March 21, 2021

อารมณ์

หากคุณคือสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า มนุษย์ คุณจะปฏิเสธไม่ได้ว่าอารมณ์ความนึกคิดคือส่วนหนึ่งในการดำรงชีวิตของคุณ

มนุษย์เราทุกคนที่เกิดมาแล้ว ล้วนอาศัยอารมณ์ในการดำเนินกิจวัตรประจำวัน ตั้งแต่ตื่นจนกระทั่งหลับไป หรือแม้ขณะนอนหลับเราก็ยังฝัน ทำให้เราเห็นว่า อารมณ์ความนึกคิดนั้นอยู่กับเราตลอดเวลา

ทั้งนี้การจะแยกว่า อารมณ์ความนึกคิดนั้นแยกจากตัวเราก็คงทำได้ยาก เพราะนั้นไม่ใช่สิ่งที่มนุษย์คุ้นชินเลย เนื่องจากจิตใจของมนุษย์ส่วนใหญ่แล้วนั้นจะไปเกาะเกี่ยวอยู่กับอารมณ์ความนึกคิดอยู่ตลอดเวลา

ดังนั้นถ้าวันไหนเราเกิดอารมณ์ไม่ดีขึ้นมา นั่นก็จะทำให้วันนั้นทั้งวันดูเป็นวันที่ไม่เอนจอยเลยแทบทั้งวัน เพราะจิตใจเราเกาะเกี่ยวอยู่กับอารมณ์นั้นแทบจะไม่ปล่อย จนกว่าจะมีเรื่องที่ทำให้เรารู้สึกดีขึ้นมาได้ นั้นก็จะทำให้เราสามารถปล่อยอารมณ์ความรู้สึกไม่ดีนั้นได้ เพราะจิตได้เปลี่ยนที่ยึดเกาะมาเป็นอารมณ์ความสึกที่ดีแทน ดังที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ว่า “จิตใจของมนุษย์นั้นเปรียบเสมือนกับลิงคืออยู่ไม่นิ่ง โหนไม่เกาะต้นไม้กิ่งโน้นที กิ่งนี่ที”

แต่ทั้งนี้ เนื่องจากตัวอารมณ์ของเรานี้เองที่เป็นต้นกำเนิดความมหัศจรรย์ของสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นมาบนโลกใบนี้ ทำให้เกิดเป็นโลกยุคโลกาภิวัตน์ที่ทุกคนสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ทั่วโลก เกิดเป็นศาสตร์ความรู้ต่างๆ เกิดเป็นบ้านเรือน เครื่องใช้อำนวยความสะดวกต่างๆ ซึ่งล้วนมาจากอารมณ์สร้างสรรค์ของมนุษย์

จึงปฏิเสธไม่ได้เลยว่าอารมณ์ความนึกคิดของมนุษย์นั้นมีบทบาทหรือเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นมนุษย์เลยก็พูดได้

อย่างไรก็ตามเหรียญย่อมมีสองด้านเสมอ มนุษย์เรานอกจากมีอารมณ์สร้างสรรค์แล้วก็ยังมีอารมณ์ทำลายล้างได้ด้วยเช่นกัน จากเหตุการณ์สะเทือนขวัญต่างๆที่ได้เห็นกันตามข่าว หรือ สงครามที่ทำให้มีคนตายอย่างนับไม่ถ้วน นี่ก็ล้วนเกิดจากอารมณ์ทำลายล้าง ซึ่งทำให้มนุษย์ผลิตอาวุธสงครามต่างๆ ทั้งระเบิปรมณู อาวุธชีวภาพ สิ่งต่างๆที่ใช้ลำลายและฆ่าฟันกันอย่างน่าสลด

ทั้งนี้เพราะว่ามนุษย์เรานั้นมีสิ่งหนึ่งอาศัยอยู่ประจำในใจเหมือนเป็นเผ่าพันธ์ของมนุษย์นั้นก็คือ “ กิเลส ” หรือ ความอยากได้ในสิ่งที่ตนเองไม่มี และ ความไม่อยากได้ในสิ่งที่ตนเองมีอยู่ สิ่งนี้เรียกได้ว่าเป็น “จุดดำ” ประจำใจของมนุษย์ทุกคนที่จะคอยประทุให้เราเกิดอารมณ์ความรู้สึกทำลายล้าง

โดยเจ้าตัวกิเลส หรือ จุดดำนี้ก็มีขนาดไม่เท่ากันในแต่ละบุคคล ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆอย่าง หรือเรียกว่าพื้นฐานจิตใจของมนุษย์แต่ละคนนั้นมีความจำเพาะสูงมาก

หลายคน คงสงสัยว่าถ้าอย่างนั้นก็แค่กำจัดกิเลสออกไป ก็จะทำให้โลกนี้น่าอยู่ยิ่งขึ้น และไม่ต้องการรบลาฆ่าฟันกันอีก

ฟังดูน่าสนใจ แต่วิธีการไม่ง่ายอย่างที่เราคิด เพราะการจะทำอย่างนั้นได้ เราจะต้องกระทำในสิ่งที่ไม่ใช่วิสัยของมนุษย์พึงกระทำกัน คือ การนำจิตใจของเราแยกออกมาจากอารมณ์ความนึกคิด

ซึ่งจะด้วยวิธีใดนั้นก็ขึ้นอยู่กับแต่ละตัวบุคคล ซึ่งวิธีการที่นิยมทำมากที่สุด ก็คือ “ การทำสมาธิ ”

การทำสมาธิจะสามารถทำให้จิตใจที่เกาะเกี่ยวอยู่กับอารมณ์ตลอดเลานั้น หลุดออกจากอารมณ์ทั้งสร้างสรรค์และทำลาย และมาเกาะที่ธรรมชาติของร่างกายที่ปรากฏเด่นชัดขณะร่างกายรำงับอยู่ นั้นคือ “ ลมหายใจ ” แทน

การที่เราปล่อยจิตใจให้หลุดออกจากอารมณ์ได้นั้น เป็นการชี้แนะจิตใจของเราว่ายังมีสภาวะแบบนี้ในโลกใบนี้ให้เราได้สัมผัส การปล่อยให้จิตใจของเราได้สัมผัสกับสภาวะที่จิตใจไม่ได้เกาะเกี่ยวอยู่กับอารมณ์ความนึกคิดนั้น จะทำให้จิตได้พบเจอกับสภาวะที่แปลกใหม่ ลิ้มรสความสุขสงบ ที่ไม่เหมือนกับความสุขที่เกิดจากอารมณ์

ซึ่งการแนะนำจิตใจของเราให้ได้รู้จักสภาวะนี้ จะทำให้เกิดคุณูปการณ์ต่างๆมากมาย รวมทั้งมุมมองที่มีต่อโลกใบนี้ เหมือนเป็นการเพิ่มประสบการณ์ใหม่ให้กับตนเองโดยไม่ต้องเสียงบประมาณใดๆ เพียงแค่ฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ

การทำฝึกปฏิบัติบ่อยๆจะทำให้จิตใจเกิดความชำนาญในทางพุทธศาสนาจะเรียกว่า เกิดเป็น “ วสี ” คือความเร็วในการปลดปล่อยการยึดเกาะระหว่าง อารมณ์ความรู้สึก และ จิตที่เข้าไปรับรู้

การกระทำเช่นนี้คือ การฝึกฝนจิตใจของเราเอง เช่นการที่เราต้องการความรู้เราก็ต้องเดินทางไปโรงเรียน และต้องไปทุกวันจนครบระยะเวลาที่หลักสูตรกำหนดไว้ ซึ่งการเดินทางในวันแรกจากไปบ้านไปโรงเรียนในป่าทึบนั้นอาจจะลำบากสักหน่อยเพราะยังไม่เส้นทางที่สะดว แต่ถ้าไปทุกวันจนครบทั้งหลักสูตรแล้วเชื่อว่า การเดินทางนั้นจะง่ายและสะดวกมากยิ่งขึ้นเพราะเราได้ปูทางไว้เรียบร้อยแล้ว

จะเป็นอย่างไรหากเราทุกคนได้พบกับสภาวะนี้ มุมมองที่มีต่อโลกใบนี้จะเปลี่ยนแปลงไปขนาดไหน หากมนุษย์มีเพียงอารมณ์สร้างสรรค์ แต่ไม่มีอารมณ์ทำลายล้างอีกต่อไป